วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมห้องเรียนทดลองวิทย์ วันเสาร์ที่ 24 พ.ย 2555

กิจกรรมที่ 1 แรงตึงผิว







กิจกรรมที่ 2 คลิปลอยน้ำ












กิจกรรมที่ 3 นม  สี  กับน้ำยาล้างจาน













กิจกรรมที่ 4  เทียนหอมแฟนซี













ผลการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ 62

รายการ
ผลการแข่งขัน
อัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์
เหรียญทองแดง
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง
เหรียญทอง
การแสดงทางวิทยาศาสตร์
เหรียญทอง
เครื่องร่อนประเภทร่อนไกล
เหรียญทอง
เครื่องร่อนประเภทร่อนนาน
เหรียญทองแดง

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมวันศุกร์ ห้องเรียนทดลองวิทย์




บรรยากาศการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ 62

การประกวด  SCIENCE  SHOW  



เรื่อง  น้ำแข็งแห้ง……………….แผลงฤทธิ์
โดย
   1.  เด็กหญิงศุภศิริ      อับดุลเลาะมาน                    ป.6/2
   2. เด็กหญิงณิชารีย์    ลาภเกียรติถาวร                  ป.6/4
   3. เด็กหญิงจิตรทานันท์     จิตตนิยมพาณิชย์         ป.6/6


มูลเหตุจูงใจ

                ได้เรียนรู้  เรื่อง  การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าช  โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวหรือที่เรียกว่า  การระเหิด  จึงความสนใจว่ามีอะไรบ้าง  ที่นอกเหนือจากลูกเหม็น  พิมเสน   การบูรอย่างที่เคยเรียน  จึงพบว่า  มันยังมีน้ำแข็งแห้ง  (Dry  ice)   อีก   1   ชนิด    จึงศึกษา เรื่องของน้ำแข็งแห้ง  และพบว่า  น้ำแข็งทำจากก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์  แช่แข็ง   ภายใต้ความกดดันที่สูงและอุณหภูมิต่ำ  เย็นมาก   ขนาดจับด้วยมือเปล่าไม่ได้

                ในการโชว์ครั้งนี้  ผู้ชมจะได้รับความสนุก  ประทับใจ   ที่เกิดจากการโชว์ ไม่ว่าจะเป็นผสมสารเคมีต่างๆ ใส่  Dry  ice    เพื่อให้เกิดปฏิกิริยา  และความน่าสนใจเกี่ยวกับน้ำแข็งแห้งอีกหลายอย่าง




เนื้อหาโดยย่อ


                1. แนะนำและรู้จักกับลักษณะทั่วไป  ประโยชน์และอันตรายของน้ำแข็งแห้ง  เช่น  น้ำแข็งแห้งทำ                 จากก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์  มีการเปลี่ยนสถานะโดยการระเหิดมีอุณหภูมิ  -79 ° C  ฯลฯ

                2. ทดลองช้อนกรี๊ด
                    โดยใช้หลักการเกี่ยวกับความแตกต่างกันอย่างมากของอุณหภูมิ  ทำให้ช้อนโลหะสั่นแล้วเกิด        เสียงขึ้นมา     
                3. ทดลองน้ำเปลี่ยนสี
                    โดยใช้หลักการของอินดิเคเตอร์และความเป็นกรดของ  CO2 ที่ละลายน้ำ
                4. ทดลองฟองสบู่ล่องลอย
                    โดยใช้หลักการของความหนาแน่นของก๊าช   CO2  ที่มีมากกว่าอากาศทำให้ก๊าชจะลอยอยู่ต่ำ        และฟองสบู่ที่มีอากาศด้านในลอยอยู่ด้านบน


การนำหลักวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้


                1. น้ำแข็งแห้ง  (Dry  ice)   เกิดจากการเพิ่มความดันให้กับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์  จนเปลี่ยน                      สถานะจากก๊าชเป็นของแข็ง  มีอุณหภูมิ  -79 ° C   และเมื่อตั้งทิ้งไว้จะเปลี่ยนสถานะของของแข็ง

                   ไปเป็นก๊าชที่เรียกว่า  การระเหิด
                2. อุณหภูมิที่ต่างกันทำให้โมเลกุลของสสารเกิดการสั่นสะเทือนและการเกิดเสียง
                3. อินดิเคเตอร์  คือ  สารเคมีที่ใช้วัด ความเป็นกรด  เบสของสาร  โดยจะเปลี่ยนสีเมื่อความเข้มข้น               เป็นกรด  เบส  เปลี่ยนไป
                4.  สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าจะลอยแอยู่ด้านบนของสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่า



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


                1. ตระหนักถึงอันตรายของน้ำแข็งแห้ง  เช่น

                                1)  ไม่จับด้วยมือเปล่า
                                2)   ไม่นำมาใส่ขวด ปิดฝาเล่น  เพราะ  Dry  ice   ระเหิดตลอดเวลาขวดอาจแตกได้
                2.  นำน้ำแข็งแห้งมาใช้ประโยชน์  ในการรักษาความเย็นให้กับสิ่งที่ต้องการ  เช่น   ไอศกรีม
                3.  ทดลองใช้อินดิเคเตอร์ขาดสอบ  กรด  -  เบส   ชนิดอื่น








               การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์
               บ้านหลังใหม่ของผักสวนครัว

                   โดย
                    เด็กหญิงรสิตาภรณ์                     พิทันโชติ                   
                    เด็กหญิงณัชชา                           ฉันชัยพัฒนา
                    เด็กหญิงอภิชญา                         เกตุพัฒนกุล





วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การทดลองง่ายๆสไตล์วิทย์

กิจกรรมบนเวทีช่วงเช้าทุกวันพฤหัสบดี  ของกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
การทดลองง่ายๆสไตล์วิทย์  กับพี่รู้กว้างและน้องใจกว้าง


ตอนกล่องปืนใหญ่พลังลม








ตอน  รุ้งกินน้ำ






ตอน  ปืนหลอดกาแฟ









วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แข่งขันทักษะทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๕๕




ร่วมส่งแรงใจ แรงเชียร์ให้เพื่อนๆพี่ๆ
ในการเข้าแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมครั้งที่ ๖๒   

แข่งขันทักษะทางวิชาการ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน  ปีการศึกษา ๒๕๕๕
ระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ระดับประถมศึกษา)
วันที่  ๑๔-๑๕  พฤศจิกายน  ๒๕๕๕
ณ  โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์  ซอยปรีดี พนมยงค์ ๑๓   ถนนสุขุมวิท ๗๑  กรุงเทพมหานคร

การแข่งขันอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์          ระดับชั้น ป.๔ - ๖  
๑) เด็กหญิง     สุวิชญา        อมรจิรพร           ชั้นป.6
๒) เด็กหญิง    ธันยพร        เจียรนัยวิวัฒน์    ชั้นป.6
๓) เด็กหญิง    อภิชญา        เจียมสว่างพร     ชั้นป.6

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง            ระดับชั้น ป.๔ - ๖      
๑) เด็กหญิง     อภิชญา   เกตุพัฒนกุล           ชั้นป.6
๒) เด็กหญิง    ณัชชา     ฉันชัยพัฒนา          ชั้นป.6
๓) เด็กหญิง    รวิพร      เอื้ออนุกูลพงษ์       ชั้นป.6

การแข่งขัน (Science Show) ระดับชั้น ป.๔ - ๖    
๑) เด็กหญิง    ศุภศิริ             อับดุลเลาะมาน             ชั้นป.6
๒) เด็กหญิง   จิตรทานันท์   จิตตนิยมพาณิชย์         ชั้นป.6
๓) เด็กหญิง   ณิชารีย์           ลาภเกียรติถาวร            ชั้นป.6

การแข่งขันเครื่องร่อน ประเภทร่อนไกล                  ระดับชั้น ป.๔ - ๖      
๑) เด็กหญิง    วรมาศ            เมธีกุล                   ชั้นป.6
๒) เด็กหญิง   กชพรรณ       พิศาลก่อสกุล        ชั้นป.6

การแข่งขันเครื่องร่อน ประเภทร่อนนาน           ระดับชั้น ป.๔ - ๖      
๑) เด็กหญิง    รสิตาภรณ์     พิทันโชติ              ชั้นป.6
๒) เด็กหญิง   ปัณชญา      เตชะพรสิน              ชั้นป.6 









วันพระบิดาแห่งฝนหลวง 14 พฤศจิกายน


 
ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง
ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง
           "...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."
          โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และ เกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน
            ตามที่ทรงเล่าไว้ใน จาก พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้
             การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑ - ๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๒ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน  ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
            เพื่อแสดงความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ที่มีต่อปวงชนชาวไทย  คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลว" และกำหนดให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายนของทุกปี เป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ให้ประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสแสดงความจงรักภักดี ชื่นชมในพระบารมี และร่วมกันถวายสดุดีเฉลิมพระเกียรติติดต่อกันไปทุกปี

อ้างอิง 
ภาพประกอบ